ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติอื่นๆ คือ ยางพาราจะทำให้อ่อน ให้นุ่ม ยืดหยุ่นหรือแข็งถึงขนาดใช้แทนโลหะบางชนิดก็ได้ เก็บน้ำได้อัดลมไว้ได้ ไม่รั่ว และยังเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วย เนื่องจากยางพาราใช้ทำประโยชน์ได้มากมายหลายอย่างความต้องการที่ใช้ยางเมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีมาแล้วจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยมา แต่จำนวนยางพารารวมทั้งยางอื่น ๆ ที่จะกรีด เก็บอามาจากป่าในครั้งนั้น มีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นได้ยาก เกรงกันว่าต่อไปจะขาดแคลนลง และประเทศต่าง ๆ ที่มียางก็< WBR>คงจะไม่จำหน่ายให้หรือไม่ก็คงจำหน่ายในราคาแพง ในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๐-๒๔๒๐ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมานี้ จึงได้มีการพยายามที่จะหาทางปลูกต้นยางให้มากขึ้น ในที่สุดได้มีการนำเมล็ดต้นยางพาราจากลุ่มน้ำอะเมซอนมาปลูกในทวีปเอเชีย ในแหล่งที่มีดินฝนและความชื้นใกล้เคียงกับถิ่นเดิมของต้นยางพารา คือ แผ่นดินที่อยู่ในระหว่างเส้นขนานที่ ๒๘ องศาเหนือ และ ๒๘ องศาใต้ ผู้ที่ได้รับเกียรติในการนำเมล็ดพันธุ์ยางพารามาจากลุ่มน้ำอะเมซอนอย่างเป็นล่ำเป็นสันเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นจำนวนถึง ๗๐,๐๐๐ เมล็ด คือ มร. เฮนรี วิค แฮม ซึ่งต้อมาได้รับบรรดาศักดิ์ “เซอร์” (Sir Henry A. Wickham) เมล็ดยางจำนวนนี้ได้ส่งไปเพาะที่อุทยานคิว (Roya botanic Gardens, Kew) ในกรุงลอนดอน ได้เมล็ดงอกและชำไว้ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ต้น ได้ส่งมายังประเทศศรีลังกาในปี  พ.ศ. ๒๔๑๙ ส่วนมากตายหมด ในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้ส่งมาที่สิงคโปร์อีก ๒๒ ต้นนี้ ได้แพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ปรากฏว่า ในเอเชียมีกา รปลูกต้นยางพาราขึ้นเป็นจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ กว่าไร่ และในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕ ประเทศไทยก็ได้เริ่มปลูกสร้างสวนยางขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า แหล่งปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือเอเชีย ส่วนที่ประเทศบราซิลมีการปลูกสร้างเป็นสวนน้อยมาก

 

ส่วนในประเทศไทยมีดังนี้